วิธีเตรียมพื้นและปูพื้นลดแรงกระแทก แบบปูกาว

2547 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วิธีเตรียมพื้นและปูพื้นลดแรงกระแทก แบบปูกาว

เลือกอ่านตามหัวข้อ

1. การติดตั้งพื้นลดแรงกระแทกทับพื้นคอนกรีต

การติดตั้งพื้นลดแรงกระแทก ควรเป็นพื้นคอนกรีตขัดเรียบ ระดับต่างกันไม่เกิน 4 มม. ในพื้นที่ 2 ตร.ม. สามารถแก้ใขพื้นด้วยวิธีการดังนี้

  • ปรับระดับด้วยปูนทราย (กรณีมีความต่างระดับเยอะ)
  • เจียรหรือสกัดส่วนนูนออก
  • Self Leveling
  • Skim ผิว
  • ติดแผ่นสมาร์ทบอร์ด (ใช้ขนาด 8-10 มม.)
ควรทาน้ำยากันชื้นบนผิวหน้าเพื่อกันความชื้น ขึ้นมาทำปฏิกริยากับกาว
คำเตือน การผสมน้ำยากันชื้นในปูนไม่สามารถกันความชื้นได้ " ต้องทำน้ำยากันชื้น 2 ขั้นตอนทุกครั้ง "

ข้อแนะนำ ขณะทำการเทคอนกรีตเพื่อปรับระดับพื้น ควรทำการจับปุ่ม/เซี้ยมทุก ๆ ระยะ 1 เมตร เพื่อช่วยในการควบคุมค่าความต่างระดับ ไม่ให้เกินค่ามาตรฐาน

2. การติดตั้งพื้นลดแรงกระแทกทับพื้นเดิม

พื้นเดิม คือ ไม้ปาเก้ พื้นลามิเนต

ตรวจสภาพพื้นก่อนเริ่มงาน "แนะนำให้รื้อถอนพื้นเดิมก่อน" เนื่องจากพื้นเดิมมีโอกาสเกิดการหลุดร่อน หรือที่เคลือบผิวหน้าลอกร่อน ปลวกกิน และอาจเกิดความชื้นซึ่งอาจจะเกิดเชื้อราในอนาคต ควรรื้อถอนและปรับพื้นผิวปูนก่อน หลังจากนั้นต้องปรับพื้นให้เรียบก่อนโดยการขัดเรียบ และลงน้ำยากันชื้นบนผิวหน้าปูน เพื่อกันความชื้นขึ้นมาทำปฏิกริยากับกาว

พื้นเดิม คือ พรม กระเบื้องยาง พื้นยางพารา

  • ควรรื้อพื้นเก่า เนื่องจากมีโอกาสหลุดร่อน หรือติดตั้งแผ่นสมาร์ทบอร์ด
  • ทำความสะอาดพื้นและคราบกาว
  • ในกรณีพื้นเดิมไม่เรียบ ต้องทำการปรับพื้นก่อน
  • ตรวจสอบความเรียบและความชื้นก่อนปู SAF

คำเตือน สำหรับพรมควรรื้อออกเท่านั้น เนื่องจากเป็นสาเหตุของกลิ่นและความชื้น

พื้นเดิม คือ กระเบื้อง หินอ่อน แกรนิตโต้

ควรปรับพื้นให้เรียบก่อนด้วยวัสดุนาแนวรอยต่อ และขัดด้วยกระดาษทราย AA-120 หรือละเอียดน้อยกว่า ในกรณีกระเบื้องติดตั้งไม่เรียบอาจจะต้อง skim ผิวหน้าด้วยปูนหรือติดแผ่นสมารทบอร์ด

3. การติดตั้ง Smart Board ก่อนปูพื้นลดแรงกระแทก

  1. ใช้เครื่องขัดปรับผิวหน้าสมาร์ทบอร์ดให้เรียบเนียน
  2. ใช้ปูนยาแนวตามรอยต่อแผ่น
  3. เมื่อปูนแห้ง ใช้เกรียงขูดปรับผิวหยาบ
  4. ใช้เครื่องขัดละเอียดพื้นอีกครั้ง
  5. ทำความสะอาดพื้น ให้ปราศจากฝุ่นโดยใช้ไม้กวาด และตามด้วยผ้าชุบน้ำหรือไม้ถูพื้นบิดให้แห้งหมาด ๆ รอพื้นให้แห้งสนิทประมาณ 30-45 นาที

วิธีการติดตั้ง พื้นลดแรงกระแทก (เบื้องต้น)

ขั้นตอนที่ 1

ตกลงขอบเขตการติดตั้งบริเวณจบงาน , ระดับสูงต่ำและการจบงาน , แนวการปูพื้น ระดับขอบประตูด้านล่างว่าสามารถ เปิด-ปิด ประตูได้ไม่ติดขัด ตรวจสอบพื้นที่ที่ต้องการจะปู พื้นลดแรงกระแทก shock absorption floor ต้องแห้งสนิทและปราศจากฝุ่น งานก่อสร้างส่วนที่มีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องควรแล้วเสร็จทั้งหมด งานประตู-หน้าต่าง และงานผนัง ฝ้า ต้องแล้วเสร็จก่อนทำการติดตั้งพื้นลดแรงกระแทก

ขั้นตอนที่ 2

ตรวจสอบค่าระดับ ของชั้นวัสดุรองพื้นที่จะทำการติดตั้งพื้นลดแรงกระแทก ควรมีค่าระดับในรัศมี 2 เมตร อยู่ในระดับ 2-4 มิลมิเมตร ปราศจากฝุ่น และคราบสกปรก เช่น คราบน้ำมัน กาว

วิธีตรวจสอบ ใช้ฉากทาบพื้น วัดระยะความสูงที่แสงผ่าน หรือเลเซอร์วัดระดับ

ขั้นตอนที่ 3

ตรวจสอบค่าความชื้นของพื้นปูน ไม่ควรเกิน 13% ก่อนทำน้ำยากันชื้น ความชื้นภายในห้องควรมีค่าอยู่ระหว่าง 55-65% และค่าความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของชั้นวัสดุรองพื้น และอุณหภูมิภายในห้องไม่ควรต่างกันเกิน 3 °C

ข้อแนะนำ ในกรณีปรับพื้นโดยการ Self leveling หรือ skimพื้น ควรทิ้งไว้อย่างน้อย 5-7 วัน (ขึ้นอยู่กับความหนา) โดยเปิดให้อากาศถ่ายเทสะดวกหรือให้พื้นแห้งสนิท เนื่องจากเครื่องวัดความชื้นอ่านค่าได้เฉพาะบริเวณพื้นผิวปูนด้านบน ซึ่งด้านล่างอาจจะยังไม่แห้งสนิท (ปรับผิวหน้าก่อนทากันชื้น)

ขั้นตอนที่ 4

ทากันความชื้นทุกครั้งที่พื้นและผนัง (ขึ้นมา 10cm หรือตามความสูงบัว) ด้วย Beger Heavy duty coating C-Guard sealer (ผสมอัตราส่วนตามข้างกระป๋อง) ด้วยลูกกลิ้งหรือแปลง 1 เที่ยวให้ชุ่ม รอให้แห้ง 3-4 ชั่วโมง (ในที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวกจะต้องรอนานกว่านั้น) "ความชื้นพื้นก่อนทาไม่ควรเกิน 13%"

คำเตือน
  • ต้องให้ลูกค้าทากันชื้นทุกครั้ง เนื่องจากตอนติดตั้งยังไม่มีความชื้นแต่ในอนาคตอาจจะทีได้ เช่น ติดตอนหน้าร้อนพอถึงหน้าฝนน้ำซึมจากโครงสร้าง ทำให้พื้นหลุดร่อนหรือมีกลิ่นได้
  • ในกรณีผนังห้องอีกด้านไม่มีการฉาบปูนและเป็นผนังภายนอก ต้องทาน้ำยากันความชื้นที่ผนังตามขั้นตอน 4 ที่ ความสูง = ผนังที่ไม่ได้ฉาบ
  • ทาน้ำยากันความชื้นหลังปรับผิวหน้าแล้วเท่านั้น ป้องกันความชื้นสะสมในชั้น leveling หรือ skimผิว

คำแนะนำ ทำการวัดขนาด ลวดลายและพื้นที่ติดตั้ง จากนั้นคำนวนปริมาณสินค้าที่ต้องใช้ให้เพียงพอกับความต้องการ ควรเผื่อสินค้ากรณีตัดเข้ามุม การเว้นระยะเหลือมลาย และให้ลูกค้าเก็บเศษเผื่อการซ่อมแซมภายหลัง เพราะสินค้าที่ผลิตแต่ละล๊อตอาจมีสีไม่เหมือนหรือกลมกลืนกัน ควรกางแผ่นออกมาม้วนทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง เพื่อให้แผ่นคลายตัว ไม่เป็นคลื่นตอนติดตั้ง

" กำหนดจุดเริ่มจากกลางห้อง หรือริมผนังด้านใดด้านหนึ่ง "
  • กำหนดขอบหน้าตัดของแผ่น พื้นลดแรงกระแทก โดยเผื่อขอบอย่างน้อยด้านละ 10cm. หรือจัดวางให้ตรงแนวพื้นไม้
  • ทำเครื่องหมายแนวรอยต่อ เพื่อใช้เป็นแนวทางกันพื้นเคลื่อนตอนติดตั้ง และดูแนวว่า ขนานกำแพงหรือไม่เพื่อป้องกันวางแนวเอียง

ขั้นตอนที่ 4.1

ตัดแผ่นพื้นด้วยคัตเตอร์ ให้มีความยาวเกินพื้นที่เล็กน้อย และทำการทดลองจัดวางพื้นลดแรงกระแทก ก่อนทำการปูจริง

* เพื่อความสวยงามควรนำแผ่นที่สองจะหมุน 180 องศาแบบท้ายชนท้ายกับม้วนแรก *

ขั้นตอนที่ 5

ทำการพับครึ่งหลังของแผ่นที่ต้องการจะติดตั้งตามแนวยาว ทากาวอะคลิลิคลงบนพื้น ให้ทั่วสม่ำเสมอด้วยเกรียงหวีขนาด 2-3 มม. โดยต้องระมัดระวังความสม่ำเสมอของกาว และ Line ในการวางพื้นลดแรงกระแทก
การทากาว หลังทากาวสังเกตที่สีของกาวจากสีขาวขุ่น เริ่มกลายเป็นลักษณะใส หรือทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที และทำอีกด้านตามวิธีปกติ

ข้อควรระวัง

  • อย่าให้กาวแห้งแล้วติดพื้น จะทำให้เห็นลอยกาวเป็นลอน
  • หลังจากติดตั้งแล้วห้ามดึงออก จะทำให้ปูนปรับระดับหลุดออกมาด้วย

ขั้นตอนที่ 6

วางแผ่นพื้นลดแรงกระแทก ที่พับครึ่งไว้ลงบนกาว หลังจากนั้นทำการรีดไล่ฟองอากาศให้ทั่วทั้งแผ่น

ขั้นตอนที่ 7

หลังจากติดแผ่นที่สองบริเวณรอยต่อแผ่นต้องมั่นใจว่า ทากาวที่พื้นให้ทั่วถึงโดยเฉพาะขอบแผ่น โดยให้ขอบแผ่นแต่ละแผ่นเกยกันประมาณ 3-5 มม. หรือตามลายร่องรอยต่อไม้และใช้ฟุตเหล็กทาบตัดด้วยคัตเตอร์ให้เป็นแนวตรง ดึงเศษที่เหลือออกรีดรอยต่อให้เรียบ

คำเตือน ห้ามนำขอบพื้นของแต่ละแผ่นมาตัดขอบก่อน จะทำให้รอยต่อไม่เรียบเสมอกัน 

ขั้นตอนที่ 8

ติดกระดาษกาวบริเวณรอยแผ่นและกรีดด้วยคัตเตอร์ เชื่อมแผ่นด้วยกาว cold welding และกดทับด้วยลูกกลิ้งที่มีน้ำหนักสม่ำเสมอ หลังจากนั้นลอกกระดาษกาวออก ทิ้งกาวให้แห้งประมาณ 30 นาที

ขั้นตอนที่ 9

ทำการเก็บขอบพื้นลดแรงกระแทก บริเวณที่ชนผนัง หรือช่องเปิดต่าง ๆ ด้วยบัวพื้นและตัวจบพื้น วัสดุ PVC ให้เรียบร้อย
คำแนะนำ สำหรับพื้นที่ทำระดับเดียวกับวัสดุอื่น โดยเฉพาะหน้าห้องน้ำที่มีความชื้นสูง ควรใช้ Sealant ยาแนวบริเวณขอบและร่องระหว่างสองวัสดุ ก่อนติดตัวจบต่าง ๆ เพื่อป้องกันความชื้นเข้าด้านข้างแผ่นซึ่งทำให้แผ่นหลุดร่อนได้

การตรวจสอบหลังการติดตั้ง

1. ขณะทำการปูพื้นลดแรงกระแทก ควรตรวจสอบความเรียบร้อยของ ผิวหน้าพื้นลดแรงกระแทกทุกแผ่น ไม่ควรมีเศษ วัสดุอยู่ด้านล่าง หากพบควรรีบรื้อและนำออก ก่อนที่จะทำการเชื่อมรอยต่อแผ่น

2. หลังการติดตั้งตรวจสอบความเรียบร้อยของ ผิวหน้าพื้นลดแรงกระแทก ไม่ควรมีกาวอะคลีลิค หรือกาว Cold welding หากพบควรรีบเช็ดออกด้วย แอลกอฮอล์หรืออะซีโตน โดยทันที

แต่ ถ้าหากคุณไม่มีเวลาก็สามารถให้พวกเรา SJ Sourcing ช่วยดูแลให้คุณในเรื่องนี้ สั่งซื้อ → ติดตั้ง → รับประกัน 1 ปี ช่องทางติดต่อด้านล่างเลยครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้